ศึกษาเปรียบเทียบ ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของอริสโตเติล พระมหาสมปอง จนฺทวํโส (ยุงรัมย์)





ศึกษาเปรียบเทียบ ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของอริสโตเติล พระมหาสมปอง จนฺทวํโส (ยุงรัมย์)


ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศึกษาเปรียบเทียบ ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของอริสโตเติล

ผู้วิจัย : พระมหาสมปอง จนฺทวํโส (ยุงรัมย์)

ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์

: พระมหาธีรพันธ์ วชิรญาโณ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔, พธ.บ. M.A. (Phil.), Ph.D.(Phil.)

: พระมหากฤษณะ ตรุโณ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๓, พธ.บ., พธ.ม. (ปรัชญา), Ph.D. (Phil.)

: ดร.วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ.๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ หนึ่ง), ศษ.บ., B.Ed., M.A. (Phil.), M.Phil. (Phil.), Ph.D. (Phil.)

วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๘

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของอริสโตเติล ว่าเป็นอย่างไร และมีลักษณะที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องศักยภาพหรือภาวะแฝงและภาวะจริงของมนุษย์

จากการศึกษาวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีอนัตตา ซึ่งเป็นผลให้ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ถึงขั้นเลยความเป็นตัวตนหรือเลยความเห็นแก่ตัวอย่างแท้จริง ส่วนแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในปรัชญาของอริสโตเติลตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีอัตตา ซึ่งเป็นผลให้ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในทุกด้านยังพัวพันเชื่อมโยงกับอัตตา และยังไม่ถึงขั้นเลยความเป็นตัวตน เมื่อนำแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของทั้งสองแนวคิดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า แนวคิดของอริสโตเติลมีทั้งประเด็นที่เหมือนกันและแตกต่างกันกับแนวคิดของพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ทั้งอริสโตเติลและพุทธปรัชญาเถรวาทเห็นเหมือนกันว่า (๑) มนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดจากองค์ประกอบ ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นสสารหรือรูป (กาย) และส่วนที่เป็นอสสารหรือนาม (จิตหรือวิญญาณ) (๒) กายของมนุษย์ประกอบขึ้นจากหน่วยพื้นฐานที่เรียกว่า ธาตุ ๔ ค ดิน น้ำ ไฟ ลม (๓) มนุษย์รับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัส ประสาทสัมผัสแต่ละอย่างจะมีอารมณ์หรือวัตถุที่เป็นของเฉพาะตน (๔) จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีอยู่จริง โดยอาศัยร่างกายเป็นที่อยู่ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่าง เป็นนามธรรม มีความสัมพันธ์กับร่างกาย และมีความสำคัญกว่าร่างกาย (๕) มนุษย์มีจิตหรือวิญญาณเป็นธรรมชาติพิเศษประจำชีวิต และมีศักยภาพสูงในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง (๖) มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญาหรือมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต (๗) ธรรมชาติของร่างกายมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถดำรงอยู่ในภาวะเดิมตลอดไปได้ (อนิจจตา) และถูกบีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในอยู่ตลอดเวลา (ทุกขตา) (๘) มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม มีสังคมมาแต่กำเนิด เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณทั้งฝ่ายสูงและฝ่ายต่ำคอยเป็นแรงผลักดันให้ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม (๙) มนุษย์ควรแสดงพฤติกรรมที่ดีต่อผู้อื่นและสังคม ควรมีมิตรภาพต่อคนรอบข้าง ทั้งนี้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ส่วนประเด็นที่อริสโตเติลและพุทธปรัชญาเถรวาทเห็นต่างกัน กล่าวโดยย่อมีดังนี้ (๑) ทั้งสองแนวคิดวิเคราะห์องค์ประกอบของชีวิตส่วนที่เป็นรูปหรือสสารไว้มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งและมากน้อยต่างกัน (๒) อริสโตเติลแสดงเรื่องธาตุ ๔ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างชีวิต โลก และจักรวาลเท่านั้น แต่พุทธปรัชญาเถรวาทแสดงเรื่องธาตุ ๔ นอกจากเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของชีวิตแล้วยังแสดงไว้เพื่อคุณค่าทางจริยธรรมด้วย เช่น ให้เข้าใจความเป็นอนัตตาของชีวิต ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานสำหรับฝึกจิตให้สงบจากกิเลส เป็นต้น (๓) อริสโตเติลไม่เชื่อว่ามนุษย์มีสัมผัสที่ ๖ แต่พุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์มีมโนสัมผัสเป็นสัมผัสที่ ๖ (๔) วิญญาณในทรรศนะของอริสโตเติล เป็นอมตะ เป็นแบบของชีวิต ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมนิยาม แต่วิญญาณในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นกระแสตลอดเวลา และตกอยู่ภายใต้กฎธรรมนิยาม (๕) อริสโตเติลเชื่อว่า จุดหมายสูงสุดของวิญญาณคือการรวมตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับวิญญาณสมบูรณ์ของผู้เคลื่อนแรก(First Mover) แต่พุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่า จุดหมายสูงสุดของวิญญาณ คือ ความเป็นอิสระและบริสุทธิ์จากกิเลสตัณหา (๖) ศักยภาพสูงสุดในทรรศนะของอริสโตเติล คือ ความสามารถในการเข้าถึงภาวะสูงสุดของความเป็นมนุษย์ซึ่งได้แก่ การมีความสุขในฐานะนักคิดและนักปรัชญา แต่ศักยภาพสูงสุดในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ “โพธิหรือปัญญาตรัสรู้” (๗) ธรรมชาติคือ “ความเป็นอนัตตาของชีวิต” ไม่มีในปรัชญาของอริสโตเติล แต่ในพุทธปรัชญาเถรวาท หลักอนัตตาถือเป็นหลักการที่สำคัญอย่างยิ่ง (๘)รายละเอียดของธรรมชาติฝ่ายต่ำและฝ่ายสูงของมนุษย์ในปรัชญาของอริสโตเติล ไม่ได้มีจำนวนมากและถูกจัดเป็นระบบเท่ากับในพุทธปรัชญาเถรวาท (๙) แนวคิดเรื่องธรรมชาติเชิงสังคมของมนุษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาทมีทั้งส่วนที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ แต่ในปรัชญาของอริสโตเติลมีเฉพาะส่วนที่เป็นโลกิยะอย่างเดียว



Thesis Title : Human nature in Theravada Buddhist Philosophy and Aristotelian Philosophy:

A Comparative Study

Researcher : Phramaha Sompong Candavamso (Yungram)

Degree : Master of Arts (Philosophy)

Thesis Supervisory Committee

: Phramaha Theerapan Vajirayāno, Pali IV,

B.A., M.A. (Phil.), Ph.D. (Phil.)

: Phramaha Kritsana Taruno, Pali III, B.A., M.A. (Phil.), Ph.D. (Phil.)

: Dr. Veerachart Nimanong, Pali VI, Dip. In Ed., B.A., B.Ed., M.A. (Phil.), M.Phil., Ph.D. (Phil.)

Date of Graduation : March 19, 2005

ABSTRACT

The objective of this research is to comparatively study the concept of Human nature in Theravada Buddhist Philosophy with Aristotelian Philosophy, especially the concept of human potentiality and actuality.

The result of research can be summarized as follows:-

The concept of human nature in Theravada Buddhist Philosophy is based on the theory of Anattā (not-self) which causes one to understand human nature in different ways up to the state of really transcendental self or selfishness. On the contrary, the concept of human nature in Aristotelian Philosophy is based on the theory self (Attā) which causes one to understand the human nature in connection with self and not beyond self at all.

Comparatively analyzing the two concepts of human nature, we shall find that the concept held by Aristotle is of both the same points with and the different ones from the concept in Theravada Buddhist Philosophy. The essences of these points are as follows:-

The Aristotelian Philosophy and the Theravada Buddhist Philosophy hold the same ideas namely: - (1) Human beings are born from two compositions: matter or corporeality (Form) and non-matter or mentality (Soul or Consciousness). (2) Human body is composed of the Four Primary elements, namely, earth, water, fire and air or wind. (3) Human beings realize the world through nervous contacts each of which has the object of its own. (4) Human being’s minds or consciousnesses really exist in human being’s bodies. They are formless, having connection with bodies and are of importance to bodies. (5) The Soul or Consciousness is a special nature of human beings. Human beings are of highest potentiality, and can developing themselves. (6) Human beings are wise and rational for living. (7) The body of Human beings is an impermanent, changeable (Aniccatā) and is subject to oppression all time, especially, it is subject to suffering (Dukkhatā). (8) Human beings are always related to the society by nature, because they are made social animals by two kinds of their instincts, namely, the low-instinct and the high-instinct. (9) Human beings should express their good behaviors or good conducts to the other people in this world and should express their friendship to all the people they meet or those who are in contact with them in order to live together happily in the world.

The differences between the two philosophies are as follows:-

1. Both Theravada Buddhist Philosophy and Aristotelian Philosophy are different in analysis of the composition of human’s life in the part of corporeality or matter. The Theravada Buddhist Philosophy gave its details more than Aristotle’s.

2. Aristotle explained the concept of Four Elements in order to explain only the relationship between human’s life, the world and the cosmos. On the contrary, Theravada Buddhist Philosophy, not only explained the concept of Four Elements in order to express the relationship between human’s life, the world and the cosmos but also explained it for the benefit of the moral value, such as trying to enable one to understand the egolessness (Anattatā) of all lives or making it to be an object of meditation for training mind to be free from defilements.

3. Aristotle did not believe that there is the sixth sense in human’s life, but the Theravada Buddhist Philosophy believed that the mind-contact is the sixth sense in human’s life.

4. The Soul, according to Aristotle, is immortal, the ‘Form’ of life, and isn’t bound by the natural law. But, according to the Theravada Buddhist Philosophy, consciousness is by nature momentary (khanika). It arises, sustains and perishes in each and every moment. Consciousness is subdivided into three sub moments, namely, genesis (uppāda), development (thiti), and dissolution (bhanga). Besides this, according to Buddhism, the consciousness is bound to the natural law or law of the Dhamma.

5. Aristotle believed that the highest goal of the Soul is the reuniting with the pure Soul of the Fist Mover which is the final aim of human soul, but in Theravada Buddhist Philosophy, it is believed that the highest goal of consciousness is the freedom or vimutti from all desires and defilements.

6. From the point of view of Aristotle, the ability to attain to human absolute being, which is living in happiness as a Philosopher, is the highest potentiality, whereas the Enlightenment (Bodhiñāna) is the highest potentiality from the point of view of Theravada Buddhist Philosophy.

7. There is no concept of egolessness (Anattatā) of human’s life in Aristotelian Philosophy, whereas this concept is the main point or most important one in the Theravada Buddhist Philosophy.

8. The concept of human low-instinct and high-instinct in Aristotelian Philosophy has less detail and system than in the Theravada Buddhist Philosophy.

9. From the point of view of Theravada Buddhist Philosophy, human social nature has both mundane and supramundane levels; but in Aristotle’s Philosophy, human social nature has only mundane level.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น